คำไวพจน์

 คำไวพจน์
     คำไวพจน์ หมายถึง คำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน หรือคำคำหนึ่งมีคำอื่นให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น
          ท้องฟ้า มีคำใช้ อัมพร, คัคนานต์, นภาลัย, โพยม, นภางค์
          ช้าง มีคำใช้ คชสาร, กุญชร, คเชนทร์, ไอยรา, กรี (กะ-รี)
          ม้า มีใช้คำ สินธพ, อัศวะ, อาชาไนย, พาชี, มโนมัย, แสะ
          ดวงอาทิตย์ มีใช้คำ ทินกร, รวิ, ไถง, สุริยัน, สุรีย์, สุริยะ
          ผู้หญิง มีใช้คำ นงเยาว์, โฉมตรู, พธู, นงราม, สมร, กัลยา,ฯลฯ เป็นต้น
     คำไทยแท้
     ข้อสังเกตคำไทยแท้ มีดังนี้
          1.คำไทยแท้ส่วนมากเป็นพยางค์เดียว โดยเฉพาาะคำพื้นฐาน เช่น พ่อ, แม่, ย่า, กิน, เดิน, นอน, นั่ง, ลม, น้ำ, ดิน, เป็นต้น
          2.คำไทยแท้เขียนตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
          3.คำไทยแท้มีเสียงวรรณยุกต์เมื่อออกเสียงเปลี่ยนไปความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น ขา ข่า ข้า ความหมายต่างกันไป
          4..ภาษาไทยมีลักษณนามใช้ ลักษณนามเป็นคำที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น ช้าง 2 เชือก , ยักษ์ ตน นั้น, บ้าน 2 หลัง,
          5.ไม่นิยมเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์
          6.ไม่นิยมเสียงควบกล้ำ แต่มีเสียงควบกล้ำอยู่บ้างเป็นการควบกล้ำด้วย ร,ล,ว เช่น ควาย, เกรง, กลัว, เป็นต้น
          7.คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ใช้ คำที่มีตัวการันต์เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น

 



 

เมนูเด็ด
หน้าแรก
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค
รูปของประโยค
ชนิดของประโยค
การแบ่งประโยคตามเจตนาผู้ส่งสาร
การเรียงลำดับคำในประโยค
ความยาวของประโยค
การอธิบาย
คำพ้อง
คำไวพจน์
แบบทดสอบ
เฉลย
ประวัติส่วนตัว