สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
http://www.oocities.org/ssokanchanaburi
แนะนำสำนักงาน
ข้อมูลสำหรับนายจ้าง
กองทุนประกันสังคม
แนวปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายประกันสังคม
กองทุนเงินทดแทน
ข้อมูลสำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน

1. การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
คุณสมบัติของผู้ประกันตน
ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน โดยให้นายจ้างยื่นแบบหนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-02) และแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ประกันตน และกรณีที่ลูกจ้างเคยเป็นผู้ประกันตนจากสถานประกอบการอื่น (เคยยื่นแบบ สปส.1-03) แล้ว ให้นายจ้างแจ้งการรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยใช้แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน

2. การแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของนายจ้าง และผู้ประกันตน
การแจ้งการลาออกของผู้ประกันตน
กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยใช้ หนังสือแจ้งการลาออกของผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปต่อสำนักงานประกันสังคม
การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของผู้ประกันตน
กรณีที่ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงชื่อ-ชื่อสกุล หรือข้อมูลสถานภาพครอบครัว และข้อมูลจำนวนบุตร ให้ใช้ หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปต่อสำนักงานประกันสังคม
วิธีการยื่น
นายจ้างสามารถส่งข้อมูลงานทะเบียนผู้ประกันตนได้ 2 วิธี
1. ยื่นตามแบบฟอร์ม สปส. 1-03 , สปส. 1-03/1 , สปส. 6-09 , สปส. 6-10 โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนถูกต้อง
2. ยื่นข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2.1 จัดทำข้อมูลในรูปของแผ่น (DISKETTE) โดยโปรแกรม SSO MEDIA 2.0
2.2 ส่งข้อมูลผ่านทาง INTERNET
การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง
กรณีที่นายจ้างเปลี่ยนชื่อกิจการ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ ขอลำดับที่สาขา หรือยกเลิกกิจการ ฯลฯ นายจ้างต้องแจ้งโดยใช้ หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส. 6-15) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปต่อสำนักงานประกันสังคม
สถานที่ยื่นแบบ
สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
บทกำหนดโทษ
นายจ้างผู้ใดมีเจตนา
1. ไม่ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อผู้ประกันตน อัตราค่าจ้าง และข้อความอื่นตามที่กำหนด ต่อสำนักงานประกันสังคม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตน หรือ
2. ไม่แจ้งเป็นหนังสือขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในแบบรายการที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ให้ตรงกับข้อเท็จจริง ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


3. การจัดทำทะเบียนผู้ประกันตน
ให้นายจ้างจัดให้มีทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 6-07) ตามแบบที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด เพื่อประโยชน์ในการตรวจตราและควบคุมงาน อันเกี่ยวกับการประกันสังคม โดยให้นายจ้างเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ทำงานของนายจ้างที่ลูกจ้างอยู่ พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจได้
บทกำหนดโทษ
นายจ้างผู้ใดมีเจตนาไม่จัดทำทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 6-07) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


4. การนำส่งเงินสมทบ
มี 2 วิธี คือ
4.1 นำส่งเงินสมทบด้วย แบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2)
4.1.1 กรอกรายละเอียดในแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้อง
4.1.2 กรอกรายละเอียดในแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 2) ประกอบด้วย
(1) เลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกให้ครบทุกราย
(2) ชื่อ - ชื่อสกุลของผู้ประกันตน พร้อมคำนำหน้าชื่อที่ชัดเจน
(3) ค่าจ้าง ให้กรอกค่าจ้างตามที่จ่ายจริง
(4) กรอกรายการเงินสมทบที่นำส่ง โดยคำนวณเงินสมทบจากค่าจ้างในข้อ (3) หากได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท แต่ถ้าได้รับค่าจ้างเกิน 15,000 บาท ให้คำนวณจาก 15,000 บาท โดยคูณกับอัตราเงินสมทบที่ต้องนำส่ง สำหรับเศษของเงินสมทบที่มีจำนวนตั้งแต่ 50 สตางค์ขึ้นไปให้นับเป็น 1 บาท ถ้าน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง

4.2 นำส่งเงินสมทบด้วยสื่อข้อมูล
4.2.1 กรอกรายละเอียดในแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้อง
4.2.2 จัดทำข้อมูลตามแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 2) ในสื่อข้อมูล (Diskette) หรือผ่าน Internet
4.2.3 ขอรับโปรแกรมได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือ www.sso.go.th
- กรณีสถานประกอบการมีสาขาและประสงค์ยื่นรวม ให้จัดทำแบบ สปส. 1-10/1 ซึ่งเป็นใบสรุปรายการแสดงการส่งเงินสมทบของแต่ละสาขาที่ยื่นพร้อมแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของแต่ละสาขา
- นำส่งเงินสมทบ สำหรับค่าจ้างประจำเดือนที่ต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยนำส่งที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ที่ทำการไปรษณีย์ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

บทกำหนดโทษ
กรณีนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ไม่ถูกต้องครบถ้วน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างกรอกแบบรายการดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วน หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมีความผิดฐานขัดคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำเตือน
การมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ท่านไม่พ้นความผิด ควรติดตามอย่างใกล้ชิด นายจ้างที่มอบอำนาจให้กับบุคคลอื่นดำเนินการทางนิติกรรมใด ๆ แทน โปรดตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง!!

ประกันตนเอง (มาตรา 39)
ประกันการว่างงาน
ลิงค์
หน้าแรก
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่าง ๆ....

 ร้องเรียน ร้องทุกข์
ข้อเสนอแนะ สอบถามปัญหา

ขึ้นข้างบน

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
2/1 หมู่ 12 ถนนแม่น้ำแม่กลอง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000
โทร. 0-3456-4307โทรสาร 0-3456-4308