สิทธิต่างๆ ที่ทหารกองเกินจะได้รับ

 
       1. มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน ตลอดจน สิทธิอื่นๆ คือ   จะได้รับเงินเดือนๆ ละ 1,140 บาท    พร้อมกับเบี้ยเลี้ยงวันละ 50 บาท   ขณะที่ฝึกทหารใหม่
 
 หลังจากนั้นจะได้รับเงินเดือนๆ ละ 2,190-2,750 บาท และเบี้ยเลี้ยงวันละ 50 บาท ตลอดจนได้รับสวัสดิการตลอดเวลาที่เป็นทหารกองประจำการ
 
       2. ในค่าย กรม กอง หน่วยทหาร เป็นเขตมีระเบียบวินัย ปลอดภัยห่างไกลยาเสพติด เมื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการ จะมีโอกาสที่ดีที่จะพัฒนาตนเอง ใน
 
 ด้านบุคลิกภาพการศึกษา อาชีพ ฯ ตามที่แต่ละกองทัพ ได้มีโครงการส่งเสริมให้กับทหารกองประจำการ  และในปัจจุบันกองทัพได้เปิดโอกาสให้   ทหารกอง
 
ประจำการที่ครบกำหนดปลด สามารถร้องขอสมัครรับราชการในกองประจำการต่อ ครั้งละ 1 ปี ได้จนถึงอายุ 25 ปีบริบูรณ์  นอกจากนี้ยังมีโอกาสพัฒนาตนเอง
 
 ในด้านบุคลิกภาพการศึกษา อาชีพ และอื่นๆ ตามที่กองทัพได้มีโครงการส่งเสริมฯ เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การฝึกอาชีพก่อน ปลดฯ เป็นต้น
 
       3. สิทธิในการยกเว้น ผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้น เช่น พระภิกษุ สามเณร-นักธรรม นักบวชศาสนาอื่น ครู นักศึกษาวิชาทหาร(รด.) เป็นต้น เมื่อได้รับอนุมัติ
 
ให้ยกเว้นแล้ว ไม่ต้องไป แสดงตนในวันตรวจเลือก
 
       4. สิทธิในการผ่อนผัน ทางราชการจะผ่อนผันให้แก่ บุคคลต่อไปนี้คือ
 
           4.1 บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดามารดา ซึ่งไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ หรือชรา จนหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู หรือต้องหา
 
 เลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตาย หรือหาเลี้ยงพี่หรือน้อง ซึ่งหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู สำหรับผู้ที่ขอผ่อนผัน ประเภทนี้ จะต้องยื่นคำร้องขอผ่อนผัน ต่อนาย
 
อำเภอทุกปี และต้องไปแสดงตนในวันตรวจเลือกด้วย
 
           4.2 นิสิต นักศึกษา หรือนักเรียนในสถาบันการศึกษาที่กำหนดไว้ ให้แจ้งต่อสถาบันการศึกษานั้นๆเพื่อดำเนินการขอผ่อนผันต่อไป สำหรับผู้ที่ขอผ่อน
 
ผันประเภทนี้ จะต้องไปรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.35)และไปแสดงตนในวันตรวจเลือกด้วย หากปีใดมีคนส่งเข้าเป็นทหารพอ    ก็จะได้รับสิทธิผ่อนผันไม่ต้อง
 
เป็นทหารเฉพาะปีนั้น สำหรับปีต่อๆ ไป ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ผู้ที่ขอผ่อนผัน ถ้าต้องการสละสิทธิผ่อนผันเข้ารับการรวจเลือกฯ ให้สละสิทธิ์ได้ไม่เกินเวลา
 
12.00 น.ของวันตรวจเลือกฯ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาให้รับเข้าตรวจเลือกฯ ได้
 
       5. ผู้ที่มาตรวจเลือก    เห็นว่าตนควรได้รับการยกเว้น       หรือผ่อนผันตองนำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกก่อนจับสลาก มิฉะนั้นถือว่า
 
หมดสิทธิ
 
       6. ผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า การวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องก็ให้คัดค้านในทันที เมื่อผ่านไปแล้วกรรมการอาจจะไม่พิจารณาให้
 
       7. ผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นทหารเห็นว่า คณะกรรมการตรวจเลือก ตัดสินไม่ถูก หรือไม่ยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง (ประกอบด้วยผู้ว่าราช
 
การจังหวัดหรือผู้แทน เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก 2 นาย)ได้ทันที แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องไปเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็นทหารก่อน
 
จนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูง
 
       8. ผู้ที่ต้องเข้ากองประจำการ ที่ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง ก็ให้ยื่นตรงต่อคณะกรรมการชั้นสูงทีเดียว ไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตาม
 
ลำดับชั้น
 

สิทธิในการลดวันรับราชการทหารฯ

 
       1. ข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร, ข้าราชการตุลาการ, ดะโต๊ะยุติธรรม, ข้าราชการอัยการ, ข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นข้าราชการธุรการ
 
ชั้นตรี หรือเทียบเท่า, ข้าราชการพลเรือนชั้นตรีหรือเทียบเท่า, พนักงานเทศบาลชั้นตรีหรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จชั้นอุดมศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาจากต่าง
 
ประเทศซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่า จับสลากถูกเป็นทหาร 1 ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง 6 เดือน
 
       2. ผู้สำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 หรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จจากร.ร.อาชีวศึกษาชั้นสองของกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้สำเร็จวิชาชีพหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3
 
ปี จาก ร.ร.อาชีพที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และรับจากผู้สำเร็จ ม.ศ.3, ผู้สำเร็จประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป จับสลากถูกเป็นทหาร 2
 
ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง 1 ปี
 
       3. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร
 
           - ชั้นปีที่ 1 จับสลากถูกเป็นทหาร 1 ปี 6 เดือน ถ้าสมัครเป็นเพียง 1 ปี
 
           - ชั้นปีที่ 2 จับสลากถูกเป็นทหาร 1 ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง 6 เดือน
 
           - ชั้นปีที่ 3 ขึ้นทะเบียนเป็นทหารแล้วปลดเป็นกองหนุนดยไม่ต้องเข้ารับราชการ (ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกให้ติดต่อกับ รด. นำตัวขึ้นทะเบียน)
 
       4. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารจากต่างประเทศ ต้องให้กระทรวงกลาโหมรับรองเทียบกับผู้สำเร็จ การฝึกวิชาทหารของ รด. ก่อน แล้วจึงขอรับสิทธิตามที่
 
 กำหนดในกฏกระทรวงฯสิทธิของทหารกองเกินที่มี คุณวุฒิม.6 และร้องขอทหารกองเกินที่ร้องขอเข้ากองประจำการ แผนกทหารบก และมีคุณวุฒิ ม.6 หรือ
 
เทียบเท่า มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก ได้ถึงร้อยละ 40-50 สำหรับผู้ที่ร้องขอฯ แผนกทหารเรือมีคะแนนพิเศษเมื่อสอบคัดเลือก
 
เข้าเป็น นักเรียนจ่าร้อยละ 2-4 ในทกุวิชา   สำหรับผู้ที่ร้องขอฯ แผนกทหารอากาศมีสิทธิสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนจ่า ในโควต้าทหารร้อยละ 5นอกจากนี้
 
เมื่อสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบได้แล้ว หากมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี เยี่ยมของแต่ละเหล่า จะมีสิทธิได้รับคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตามจำนวน
 
เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตามจำนวนที่กองทัพบกจัดสรรให้ในแต่ละปี
 

การตรวจโรคทหารกองเกินก่อนการตรวจเลือกทหารฯ

 
       1. ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจโรค คือ ทหารกองเกินผู้ที่รู้ว่าตนเองมีโรคที่น่าขัดต่อการรับราชการทหาร หรือ ได้ผ่านการตรวจโรคจากโรงพยาบาลของส่วนราช
 
การพลเรือน หรือเอกชนแล้ว
 
       2. โรคที่ควรเข้ารับการตรวจ คือ โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร ซึ่งไม่สามารถตรวจด้วยตาเปล่า หรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจ ได้แก่ โรคที่
 
เกี่ยวกับความผิดปกติของ ตา หู โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด โรคกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ โรคติดเชื้อ
 
โรคระบบประสาท  โรคทางจิตเวช เป็นต้น
 
       3. สถานที่เข้ารับการตรวจ คือ โรงพยาบาลสังกัด ทบ. 19 แห่ง ได้แก่
 
           3.1 ส่วนกลาง : รพ.พระมงกุฏเกล้า(กรุงเทพฯ), รพ.อานันทมหิดล(ลพบุรี), รพ.ค่ายธนะรัชต์(ประจวบขีรีขันธ์), รพ.รร.จปร.(นครนายก)
 
           3.2 ทภ.1 : รพ.ค่ายจักรพงษ์(ปราจีนบุรี), รพ.ค่ายสุรสีห์(กาญจนบุรี), รพ.ค่ายอดิศร(สระบุรี), รพ.ค่ายนวมินทราชินี(ชลบุรี)
 
           3.3 ทภ.2 : รพ.ค่ายสุรนารี(นครราชสีมา), รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์(อุบลราชธานี), รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม(อุดรธานี), รพ.ค่ายวีรวัฒน์
 
โยธิน(สุรินทร์), รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา(สกลนคร)
 
           3.4 ทภ.3 : รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช(พิษณุโลก),รพ.ค่ายจิรประวัติ(นครสวรรค์), รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี(ลำปาง), รพ.ค่ายกาวิละ(เชียงใหม่)
 
           3.5 ทภ.4 : รพ.ค่ายวชิราวุธ(นครศรีธรรมราช), รพ.ค่ายเสนาณรงค์(สงขลา)
 
       4. เอกสารที่ต้องนำไปให้คณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, ใบสำคัญทหารกองเกิน(แบบ สด.9) และหมายเรียกเข้า
 
รับราชการทหาร (แบบ สด.35) ฉบับจริง และสำเนาที่ลงนามรับรองเองแล้ว
 

คำเตือน

 
       1. การขอสิทธิลดวันราชการทหาร ต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษ ยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือก ในวันตรวจเลือกทหาร โดยทำคำร้องไว้พร้อมทั้ง
 
ขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วย
 
       2. ผู้เข้ารับการตรวจเลือกทหารทุกคนจะได้รับใบรับรองผล (แบบ สด.43) จากประธานกรรมการตรวจเลือก ในวันตรวจเลือกทหารเท่านั้น หากได้รับจาก
 
บุคคลอื่น หรือในวันอื่น หรือได้รับโดยมิได้ไปเข้ารับการตรวจเลือกทหารเป็นเอกสารปลอม
 

โปรดระวัง !

 
- อย่าหลงเชื่อการแอบอ้าง หรือหลอกลวงของบุคคลใด ที่อ้างว่าจะช่วยเหลือให้ท่านพ้นจากการตรวจเลือกทหารได้ เพราะนอกจากท่านจะได้รับใบรับรองผลฯ
 
(แบบ สด.43)ปลอมแล้ว ท่านจะถูกดำเนินคดีตามความผิดอีกด้วย ซึ่งมีอัตราโทษถึงจำคุก
 
- โปรดให้ความร่วมมือกับทางราชการด้วยการแจ้งข่าวการทุจริต เกี่ยวกับการตรวจเลือก ทหารกองเกินเข้ากองประจำการ ไปที่
 

สัสดีจังหวัดฉะเชิงเทรา  ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา หรือ โทร. ๐-๓๘๕๑-๑๒๙๖