หลักคำสอนสำคัญบางประการของพระพุทธศาสนา 


โครงสร้างของพุทธศาสนา

ศาสนาพุทธประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ 3 ประการที่เรียกว่า พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

พระพุทธ คือ พระพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ที่ได้ตรัสรู้ความจริงของสรรพสิ่งด้วยพระองค์เองและได้ทรงสั่งสอนชาวโลกให้รู้แจ้งตามที่พระองค์ทรงตรัสรู้มา
พระธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นสัจธรรมอำนวยผลประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างแท้จริง
พระสงฆ์ คือ พระสาวกผู้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนได้รับผลแห่งการปฏิบัติ แล้วนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ยังพุทธศาสนิกชน ถือเป็นผู้สืบทอดพระศาสนา


หลักคำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนา
พระธรรมคำสอนเปรียบเหมือนแสงเทียนที่ให้แสงสว่าง หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามีมากมาย เช่น หลักทั่วไป หลักเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง หลักการศึกษา หลักการปกครอง หลักสังคมสงเคราะห์ หลักเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ หลักจริยศาสตร์ หลักแห่งกรรม หลักอริยสัจ 4 และหลักอุดมคติสูงสุด เพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลา มีหลักสำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ อริยสัจ 4 และขันธ์ 4 ไตรลักษณ์

อริยสัจ 4  แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของท่านประเสริฐ หรือจะ แปลว่าความจริงที่ทำให้บุคคล
ประเสริฐได้ <อ่านเพิ่มเติม>

อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ <อ่านเพิ่มเติม>คือ 

          ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ ทั้งกายและใจ 
          สมุทัย หมายถึง เหตุแห่งการเกิดทุกข์ ซึ่งได้แก่ ตัณหา 3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวัฒหา 
          นิโรธ หมายถึง การดับทุกข์ คือ การดับตัณหาทั้ง 3 ประการ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ 
          มรรค มีองค์ 8 นี้ จัดได้เป็น 3 หมวด คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกว่า  

ไตรสิกขา ดังนี้ คือ
         หมวดศีล คือ การเจรจาชอบ การประพฤติชอบ การเลี้ยงชีพชอบ 
         หมวดสมาธิ คือ ความเพียรชอบ การมีสติชอบ การตั้งใจชอบ 
         หมวดปัญญา คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ <อ่านเพิ่มเติม>

ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึง กฎแห่งธรรมชาติที่ตายตัว แน่นอนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ แปลว่า ลักษณะสามัญทั่วไปของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีปัจจัยปรุงแต่งหรือขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติสำคัญ 3 ประการ คือ

1. อนิจตา คือ ความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ วัตถุหรือบุคคลทั่วไป ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในคัมภีร์ของพุทธศาสนาได้กล่าวไว้มีใจความเกี่ยวกับความ
ไม่เที่ยง คือ ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของโลกทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งเทวโลกด้วย ล้วนไม่เที่ยง

2. ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์ ซึ่งความทุกข์ในไตรลักษณ์ หมายรวมถึง ความทุกข์ทุกรูปแบบทั้งทุกขเวทนาในขันธ์ 5 ทุกข์ในอริยสัจ 4

3. อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน หมายถึง สิ่งทั้งหลาย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ล้วนไม่มีตัวตน <อ่านเพิ่มเติม>


ขันธ์ 5 มาจากคำว่า ปัญจขันธ์ หรือเบญจขันธ์ หมายถึง กายกับใจ แบ่งออกเป็น 5 กอง คือ
1. รูปขันธ์ คือ ร่างกาย ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ดิน คือกระดูก น้ำ คือเลือด น้ำเหลือง ลม คือลมหายใจ ไฟ คือความร้อนในร่างกาย
2. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สัมผัสกับรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
3. สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้หมายรู้
4. สังขารขันธ์ คือ ความคิด เป็นสิ่งปรุงแต่งจิตใจ ผลักดันให้มนุษย์ คิดดี - คิดชั่ว 
5. วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้อารมณ์ คือ การรับรู้ผ่าน ประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือ การเห็นการ การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัสทางกายและการคิด <อ่านเพิ่มเติม>
ธรรมะส่องสว่าง ดุจดวงประทีปชัชวาล

ส่วนหลักคำสอนทั่วไป คือ :-
         เบญจศีลเบญจธรรม (หลักทำคนเต็มคน) <อ่านเพิ่มเติม>
         สัปปุริสธรรม (หลักการของคนดีแท้) <อ่านเพิ่มเติม>
         ทิศ ๖ หน้าที่เพื่ออยู่ร่วมกันด้วยดี <อ่านเพิ่มเติม>
         อริยมรรคมีองค์ ๘ <อ่านเพิ่มเติม>



>>

<<

!!